สรุปงานวิจัย


ความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย

ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองกับแบบปกติ


ชื่อโครงการวิจัย :: ความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการ                                         ทดลองกับแบบปกติ
ชื่อนักวิจัย :: นวพร  ทวีวิทย์ชาคริยะ

กรอบการสรุปสาระสำคัญของรายงานการวิจัย

ปัญหาวิจัย/คำถามวิจัย
การจัดการศึกษาของไทยมีลักษณะที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ทักษะมากกว่าพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในตัวผู้เรียนรู้ในตัวผู้เรียนซึ่งการส่งเสริมด้านการคิด ควรเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้มีจำกัด การให้เด็กลงมือกระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง จะช่วยให้เด็กพัฒนาความเข้าใจและความคิดรวบยอดได้ดี การจัดกิจกรรมโดนการปฏิบัติการทดลอง โดยเด็กเป็นผู้ดำเนินกิจกรรน่าจะส่งผลให้เด็กเกิดความคิดเชิงเหตุผลได้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.            เพื่อศึกษาความคิดเชิงเหตุผลก่อนและหลังการทดลองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลอง
2.            เพื่อศึกษาความคดเชิงเหตุผลก่อนและหลังการทดลองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ
3.            เพื่อเปรียบเทียบความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองกับการจัดประสบการณ์แบบปกติ
สรุปผลการวิจัย
1.            เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองก่อนการทดลองมีความคิดเห็นเชิงเหตุผลแตกต่างกัน
2.            เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติก่อนการทดลองมีความคิดเห็นเชิงเหตุผลแตกต่างกัน
3.            เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองกับแบบปกติมีความคิดเห็นเชิงเหตุผลแตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ
1.            การใช้ความรู้ใหม่/นวัตกรรมในการแก้ปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนา
1.1 การจัดกิจกรรมให้เด็กลงมือปฏิบัติ และปรับแผนการสอนให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมของเด็กและสื่อควรไม่เป็นอันตราย
1.2 การจัดประสบการณ์ควรเม่งเน้นให้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง
1.3 ควรฝึกให้เด็กรู้จักคิด มีเหตุผลคิดวิเคราะห์แทรกในกิจกรรมอื่นๆ


สรุปองค์ความรู้จากโทรทัศน์ครู




สรุปสิ่งที่ได้รับจากVDOนี้
            การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กนั้นจะต้องให้เด็กได้ลงมือสังเกตและปฏิบัติจริง  ต้องสอนเด็กให้อยู่ในรูปธรรม เด็กจะสามารถเข้าใจได้ง่าย โดยการทดลองที่นำเสนอในครั้งนี้มี 4 การทดลอง
            1.การทดลองหยดสี วิธีการคือ ให้เด็กหยิบทิชชู่คนละ 1 แผ่น แล้วนำมาวางไว้ข้างหน้า จากนั้นหยิบน้ำตาลก้อน คนละ 1 ก้อน วางไว้บนทิชชู่ หลังจากนั้นคุณครูให้เด็กๆหยิบหลอดหยด ไปดูน้ำสีดูคุณครูเตรียมไว้ แล้วให้นำมาหยดใส่น้ำตาลก้อนทีละหยด พร้อมทั้งสังเกตความเปลี่ยนแปลง
            2.การทดลองความลับของสีดำ วิธีการคือ คุณครูให้เด็กๆหยิบกระดาษชิชชู่มาคนละ 2 แผ่น จากนั้นให้นำทิชชู่ 1 แผ่นขึ้นมาเจาะรูตรงกลาง เมื่อเจาะรูเสร็จ คุณครูจะแจกเมจิกสีดำคนละแท่งให้เด็กๆใช้วาดรูปบนกระดาษทิชชู่ รอบๆรูที่เจาะ จากนั้นให้นำกระดาษทิชชู่อีกแผ่นม่วนเป็นกรวย สอดเข้าไปในทิชชู่อีกแผ่นที่เจาะรูไว้ จากนั้นเอาทิชชู่ส่วนที่เป็นกรวยจุ่มน้ำ พร้อมให้เด็กๆสังเกตความเปลี่ยนแปลง
            3.การทดลองมหัสจรรย์ของน้ำ วิธีการคือ ให้เด็กๆเลือกวัสดุ ที่เตรียมไว้ เช่นถาดรองแก้ว เงินเหรียญ ฯล แล้วให้เด็กๆนำหลอดหยดไปดูน้ำแล้วนำมาหยดใส่วัสดุที่เราเลือกมา หยดพอให้ปริ่มๆนูนๆขึ้นมาพร้อมให้เด็กสังเกตและนับว่าเราหยดน้ำไปกี่หยด
            4.การทดลองลอยน้ำ วิธีการคือ คุณครูเตรียมตู้กระจกใสๆ ใส่น้ำไว้ประมาณครึ่งตู้  และมีของให้เด็กเลือกเช่น หลอด ลูกปัด ไม้จิ้มฟัน คลิปหนีบ เป็นต้น แล้วให้เด็กๆทาบว่าสิ่งให้จะสามารถลอยน้ำได้บ้าง หลังจากนั้นก็ให้เด็กหยิบสิ่งที่เลือกมาลองลอยน้ำดู คุณครูให้เด็กๆคอยสังเกตและอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้

            เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากการการทดลองในครั้งนี้ไปใช้ในการเรียนและการทำงานในอนาคต และนอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าควรจัดอย่างไรจึงจะเหมาะสม การตั้งคำถาม การพูดคุย การให้เด็กได้ปฏิบัติ และแสดงออก ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อดิฉันเป็นอย่างมาก

สรุปองค์ความรู้จากบทความ

บทความ: เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย
 เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก
กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว

            พ่อแม่สมัยใหม่ค่อนข้างมีความรู้และให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลานตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัยโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
http://admax.effectivemeasure.net/emnb_1_439802.gif            ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้ เด็กปฐมวัยจะได้เรียนรู้จักเชื่อมโยงจินตนาการจากนิทานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
            “การเล่านิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน หลายครอบครัวจึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง
            เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป

            เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่า มีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน การใช้เสียงต่าง ๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง