สัปดาที่ 12


วันที่ 28 สิงหาคม 2556
ในวันที่ 27-28 สิงหาคม 2556 อาจารย์ได้พานักศึกษากลุ่ม 103 ไปศึกษาดูงาน
ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา


โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา


ภาพการศึกษาดูงาน
ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา



โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

ภาพการศึกษาดูงาน

ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา


สัปดาห์ที่ 11


วันที่ 21 สิงหาคม 2556
            หมายเหตุ :: ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานไว้ให้ นั้นก็คือให้นักศึกษาทำว่าวจากใบไม้แห้ง และให้ทนลองเล่นดูว่าสามารถลอยได้เหมือนว่าว หรือมีความแตกต่างกันอย่างไร

สิ่งที่สังเกตได้ หลังทดลองนำว่าวใบไม้แห้งไปเล่น
            ว่าวใบไม้ถึงแม้จะใส่โครงเพื่อความคงทน แต่ก็ไม่สามารถต้านลมได้ดีเท่าว่าวกระดาษ เพราะใบไม้มีขนาดเล็กเดินไป และรูปทรงใบไม้ที่หามานั้นต้านลมได้ไม่ดีพอ ว่าวใบไม้จึงไม่สามารถลอยขึ้นสูงได้ตามแรงลม            

ค้นคว้าเพิ่มเติม
            ว่าว เป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อความบันเทิงที่นิยมเล่นกันเกือบทุกชาติเป็นเวลานานมาแล้ว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้คิด บางทีว่าวยังใช้ประโยชน์อย่างอื่นๆ ได้อีก การเล่นว่าวยังนิยมเล่นกันจนถึงปัจจุบันนี้
            การละเล่นของไทยเพื่อความบันเทิงอย่างหนึ่งของเด็กและผู้ใหญ่ ที่นิยมกันมากในทุกภาคของประเทศไทยก็คือการเล่นว่าว ซึ่งปรากฏตามหลักฐานว่ามีมาเเต่ กรุงสุโขทัย เป็นว่าวที่ส่งเสียงดังด้วยในเวลาที่ลอยอยู่ในอากาศ เรียกว่า ว่าวหง่าว ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ปรากฏตามหลักฐานของชาวต่างประเทศว่า ว่าวของสมเด็จ พระเจ้ากรุงสยามปรากฏในท้องฟ้าทุกคืนตลอดเวลาระยะ 2 เดือน ในฤดูหนาวและยังกล่าวว่า ว่าวเป็นกีฬาที่เล่นกันอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวสยามที่ลพบุรีเวลากลางคืน รอบพระราชนิเวศน์จะมีว่าวรูปต่างๆ ลอยอยู่ ข่าวนี้ติดโคมส่องสว่างและลูกกระพรวนส่งเสียงดังกรุ๋งกริ๋ง ในสมัยพระเพทราชา เคยใช้ว่าวในการสงคราม โดยผูกหม้อดินบรรจุดินดำเข้ากับสายป่านว่าวจุฬาข้ามกำแพงเมือง แล้วจุดชนวนให้ระเบิดไหม้เมืองนครราชสีมาได้สำเร็จ
            โอกาสที่จะเล่นว่าว จากหลักฐานข้างต้นจะเห็นได้ว่าว่าวเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงของคนไทยทุกชั้น นับตั้งแต่องค์พระมหากษัตริย์ถึงคนสามัญ แล้วยังใช้ประโยชน์อื่นได้อีก และเล่นกันในหน้าหนาวตอนกลางคืน ปัจจุบันนิยมเล่นกันทั้งในหน้าหนาวและหน้าร้อน การเล่นว่าวแน่นอนจะเล่นว่าวได้สนุก กระแสลมนี้มี 2 ระยะ คือ
ฤดูหนาวหรือหน้าหนาว ลมจะพัดจากผืนแผ่นดินลงสู่ทะเล คือ พัดจาก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดังปรากฏในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาว่าเล่นว่าวใน หน้าหนาว ปัจจุบันนี้ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ยังนิยมเล่นว่าวใน หน้าหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์
            ฤดูร้อนหรือหน้าร้อน จะมีลมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลพัดสู่ผืนแผ่นดินใหญ่ หรือเรียกกันว่าลมตะเภา ชาวไทยภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคใต้ นิยมเล่นว่าวในระยะนี้คือ ประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน และมักจะเรียกกระแสลมที่พัดมาทาง ทิศนี้ว่า ลมว่าว

วิธีเล่นว่าวของไทย คนไทยในภาคต่างๆ ทุกภาคนิยมเล่นว่าวมาก วิธีเล่นมีอยู่ 3 วิธี คือ
            1.ชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่ เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปต่างๆ
            2.บังคับสายชักให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการนิยมกันที่ความงาม ความสูง และบางทีก็คำนึงถึงความไพเราะของเสียงว่าวอีกด้วย
            ในการเล่นว่าวทั้งสองวิธีนี้ ไทยเราได้ประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ ตามความนิยมในท้องถิ่นมานานแล้ว แต่ในปัจจุบันนี้มีรูปแบบใหม่มาจากต่างประเทศปะปนด้วย ว่าวแบบดั้งเดิมของภาคต่างๆ บางอย่างยังปรากฏอยู่ บางอย่างก็หาดูไม่ได้แล้ว ว่าวซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทยและมีทุกภาคคือว่าวจุฬา ส่วนว่าวปักเป้านั้นแม้จะเล่นกันใน ภาคกลาง แต่ก็เป็นที่รู้จักกันมาก
            3.การต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ การเล่นว่าวแบบนี้แตกต่างจากชาติอื่น ทั้งตัวว่าวและวิธีที่จะต่อสู้คว้ากัน การแข่งขันว่าวจุฬากับปักเป้านั้น ว่าวปักเป้ามีขนาดเล็กกว่าว่าวจุฬาประมาณครึ่งหนึ่ง การแข่งขันแบบนี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังมีการแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าในภาคกลางของประเทศไทยมาจนปัจจุบันนี้
            การแข่งขันว่าว การแข่งขันว่าวเป็นกีฬาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความสามารถของผู้เล่นเป็นอย่างมาก ทั้งผู้ทำว่าวและผู้ชักว่าว ต้องใช้ความประณีต ความแข็งแรง ความมีไหวพริบ และข้อสำคัญต้องอาศัยความ พร้อมเพรียงด้วย พระมหากษัตริย์ไทยก็ทรงสนับสนุนว่าวไทยตลอดมา
            ในปัจจุบันนี้มีการแข่งขันว่าวกัน 2 ประเภท ประเภทแรก คือ การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้า คว้ากันบนอากาศ อีกประเภทหนึ่งเป็นประเภทการละเล่น การแข่งขัน เป็นการประกวดฝีมือในการประดิษฐ์ ซึ่งจะแยกเป็นด้านความสวยงาม ความคิด ความตลกขบขัน และความสามารถในการชักให้ว่าวแสดงความสามารถ สมรูปทรง และให้สูงเด่นมองเห็นได้ชัด

สัปดาห์ที่ 10


วันที่ 14 สิงหาคม 2556


            อาจารย์ชี้แจ้งรายละเอียดการไปศึกษาดูงานในวันที่ 27 – 28 สิงหาคม 2556 ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เมื่ออาจารย์ชีแจ้งรายละเอียดก็จะปล่อยให้นักศึกษาประชุมและวางแผนการดำเนินงานในวันที่ไปศึกษาดูงานโดนสรุปการดำเนินงานได้ดังนี้

เทคนิควิธีการศึกษาดูงานที่ได้ผลคุ้มค่าและนำไปสู่การพัฒนาอย่างแท้จริง คงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ต้องมีเป้าหมายที่แน่นอน มีการวางแผนและศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ที่จะได้รับ มีการติดต่อประสานงานล่วงหน้าอย่างรัดกุม และมั่นใจว่าจะได้รับความร่วมมือและอำนวยความสะดวกจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง วางแผนเวลาให้เหมาะสมและเพียงพอที่จะช่วยให้ได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ และที่สำคัญยิ่งอีกอย่างหนึ่งก็คือ งบประมาณค่าใช้จ่ายต้องมีเพียงพอและควรจะคุ้มค่ากับสิ่งที่จะได้รับจากการศึกษาดูงานครั้งนั้น ๆ




       

เข้าอบรมโครงการจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

     
วันที่ 13 สิงหาคม 2556

                  วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ..2556 เวลา 13:00-16:30. อาจารย์ให้นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 เข้าร่วมอบรม โครงการจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตณ ห้องประชุมจันทร์ประภัสส์ ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี บรรยายพิเศษ เรื่องการจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดย คุณมีชัย  วีระไวทยะ  วิทยาการผู้ทรงคุณวุฒิ

สัปดาห์ที่ 9


วันที่ 7 สิงหาคม 2556

โครงการที่ 22
โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (ภาคปกติ)
กิจกรรม 3 ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  โครงการ..กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย
วันพุธทิ่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 2 คณะศึกษาศาสตร์


รุ่นพี่ปี 4 สาธิตมารยาทในการไหว้ตามแบบต่างๆ
          เป็นมารยาทไทยที่เป็นสืบทอดกันมาช้านาน การไหว้เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความหมายเพื่อการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษ หรือการกล่าวลา โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ การไหว้แบบไทยมี 3 แบบตามระดับของบุคคล
            ระดับที่ 1   การไหว้พระ
            ระดับที่ 2   การไหว้ผู้มีพระคุณและอาวุโส
            ระดับที่  3  การไหว้บุคคลทั่วๆ ไป

องค์ความรู้ที่ได้รับ
·       การฝึกมารยาทการเข้าสังคม
·       การแสดงความเคารพด้วยการไหว้
·      มารยาทในการเคลื่อนไหว เช่นการเดิน  หรือมารยาทเฉพาะด้าน เช่น การยืนในท่าที่สุภาพ การยืนเคราพธงชาติ
·       มารยาททางวาจา การพูดจาที่สุภาพ อ่อนหวาน การกล่าวคำขอบคุณเมื่อได้รับความช่วยเหลือ  ไม่ส่งเสียงดังก่อความรำคาญ  ไม่พูดจาโอ้อวดตนเอง ใช้สำเนียงการพูดที่นุ่มนวลเป็นกันเอง ฝึกใช้คำราชาศัพท์และใช้เมื่อโอกาสเหมาะสม