เรียนชดเชยครั้งที่ 2

วันที่ 30 กันยายน 2556

การทดลอง :: ขวดน้ำพุ่ง


อุปกรณ์
1.            ขวดน้ำ ที่เจาะรูข้างๆ
2.            หลอด
3.            ดินน้ำมัน
4.            ลูกโป่ง
5.            ถาดรองน้ำ
6.            น้ำเปล่า

วิธีสอน
1.            ถามเด็กๆว่า เด็กๆเห็นอะไรบนโต๊ะบ้างค่ะ
2.            เมื่อเด็กๆบอกว่ามีอะไรบ้างครบทุกชิ้น ใช้คำถามต่ออีกว่า เด็กๆคิดว่าอุปกร์ทั้งหมดนี้สามารถนำมาทำอะไรได้บ้างค่ะ
3.            เมื่อเด็กๆแสดงความคิดเห็นแล้ว คุณครูก็จะเทน้ำใส่ในขวดที่เจาะรูและใส่หลอดเข้าไป โดนขวดที่เตรียมไว้จะขีดเส้นข้างขวดว่าควรเติมน้ำให้ได้ระดับไหน
4.            ให้เด็กๆออกมาช่วยเทน้ำลงไปในขวด พร้อมบอกเด็กๆว่า เด็กๆช่วยสังเกตดีๆนะค่ะว่าจะเกิดอะไรขึ้น
5.            หลังจากที่เติมน้ำเสร็จ คุณครูก็จะนำลูกโป่งออกมาเป่า แต่ก่อนที่จะเป่าก็ถามเด็กๆว่า ถ้าคุณครูเป่าลมเข้าไปในลูกโป่ง เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ
6.            เมื่อเด็กๆตอบคำถามแล้ว จากนั้นคุณครูก็จะนำลูกโป่งที่เป่าลมแล้ว ไปปิดที่ฝาขวด แต่ก่อนที่จะปิดลงไปให้ถามเด็กๆว่า ถ้าคุณครูนำลูกโป่งที่เป่าลงแล้วไปปิดที่ฝาขวด เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ
7.            เมื่อเด็กๆตอบแล้ว คุณครูก็จะทำการทดลองให้เด็กดูพร้อมบอกเด็กๆด้วยว่า เด็กๆช่วยกันสังเกตนะค่ะว่าจะเกิดอะไรขึ้น
8.            คุณครูใช้คำถามกับเด็กระกว่างการทดลอง เด็กๆเห็นไหมค่ะลูกโป่งมีขนาดเป็นยังไงเมื่อนำไปปิดที่ฝาขวด” 
9.            ที่น้ำพุ่งออกมาจากหลอด เด็กๆคิดว่าเป็นเพราะอะไรค่ะ
10.    คุณครูและเด็กร่วมกันสรุป

หลักการและเหตุผล
            อากาศต้องการที่อยู่ เมื่อนำอากาศเข้าไปในขวดที่ใส่น้ำ พร้อมเจาะรูที่ขวดแล้วใส่หลอดเพื่อให้สามารถมาทางที่อากาศสามารถออกได้  อากาศที่เป่าใส่ในลูกโป่งจะดันน้ำให้พุ่งออกมาจากหลอดโดยความแรงของน้ำจะค่อยๆเบาลงตามระดับน้ำที่ลดลง

ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ
            เด็กได้ฝึกการสังเกตและตั้งสมมติฐานว่าการทดลองนั้นจะเกิดอะไรขึ้น และยังฝึกการรอคอย การมีสมาธิในสิ่งที่กำลังทำ นอกจากนี้ยังได้เข้าใจถึงเรื่องอากาศต้องการที่อยู่และแรงดันน้ำ

สัปดาห์ที่ 16


วันที่ 25 กันยายน  2556

-                   อาจารย์จินตนา ได้ชี้แจงพร้อมสรุปถึงสื่อวิทยาศาสตร์ที่เราต้องนำส่งในวันเสาร์ที่ 28 กันยา 2556 และพูดถึงใบความรู้ที่จะใช้อ่านสอบ ในต้นชั่วโมง

-                 -  อาจารย์ติน ให้นักศึกษาทำ Mind Mapping สรุป ความรู้ที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตามความรู้ความเข้าใจที่ตนเองได้เรียนมาส่งท้ายชั่วโมง







สัปดาที่ 15

วันที่ 18 กันยายน  2556


-                          อาจารย์ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการจัดประสบการณ์ทำอาหารให้กับเด็กปฐมวัย ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่ได้เขียนแผ่นไว้  โดยในสัปดาห์นี้อาหารที่ทำคือ ไข่ตุ๋นทรงเครื่องโดนในการทำครั้งนี้ จะมีตัวแทนของห้องสมมติว่าเป็นคุณครูและให้เพื่อนๆเป็นเด็กปฐมวัยให้ร่วมทำกิจกรรม



สรุปองค์ความรู้



ภาพบรรยากาศการจัดกิจกรรม





เรียนชดเชย

วันที่ 15 กันยายน 2556

การเรียนการสอน
            อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการสอนเด็กทำคุกกิ้ง แล้วตั้งคำถามว่าเราจะสอนเด็กทำอะไรได้บ้าง จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มทำ Mind Mapping ตามหัวข้อที่อาจารย์มอบให้ ดังนี้
           แผ่นที่ 1 สอนเด็กทำอาหาร
           แผ่นที่ 2 ไข่ตุ๋น
           แผ่นที่ 3 วิธีการทำไข่ตุ๋น
           แผ่นที่ 4 เขียนแผ่นการสอน ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง



        เมื่อทุกกลุ่มทำ Mind Mapping เสร็จ อาจารย์ให้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม ดิฉันได้เป็นตัวแทนออกไปนำเสนองาน





สัปดาห์ที่ 14


วันที่  11 กันยายน 2556

หมายเหตุ :: ไม่มีการเรียนการสอน

ให้เรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556

สัปดาห์ที่ 13


วันที่ 4 กันยายน 2556

หมายเหตุ :: ไม่มีการเรียนการสอน

ให้เรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556