วันที่ 24 กรกฎาคม 2556
อาจารย์ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
พร้อมทั้งยกตัวอย่างในแต่ละขึ้นตอน จับใจความและหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ดังนี้
ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่
1 ถึงขั้นที่ 5 ดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดขอบเขตของปัญหา ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น
ต้นไม้โตได้อย่างไร
ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า
ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ
2
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกิดคืออะไร
เพราะอะไร ทำไม ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่ 1 ใหม่ แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่
5 เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น
เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ
คือ การสังเกต การจำแนกและเปรียบเทียบ
การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและการนำไปใช้ (Brewer,
1995 : 288 - 290)
การสังเกต ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น
เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน
จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
การจำแนกเปรียบเทียบ การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล
ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ
ถ้าเด็กเล็กมาก เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้
การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้
การวัด การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด
ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้
สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้
การสื่อสาร ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์
เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ หรือวัด เป็นหรือไม่ เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
อภิปรายข้อค้นพบ บอก และบันทึกสิ่งที่พบ
การทดลอง เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด เช่น
การรื้อค้น การกระแทก การทุบ การโยนสิ่งของหรือการเล่น
จากการเล่นเป็นการเรียนรู้ ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก
แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี มีการสังเกตอย่างมีความหมาย
เช่น การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน
เด็กจะสังเกตเห็นสีสด สีจาง
ต่างกัน
การสรุปและการนำไปใช้ เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์
เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น สาเหตุใด
มีผลอย่างไร แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น
ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา
สัมผัสกับมือ เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น
การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร
หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
การทำงานของสมอง
การสอนแบบโครงการ(Project
Approach)
การสอนแบบโครงการกับการสอนแบบหน่วย
ครูปฐมวัยหรือครูอนุบาลเป็นจำนวนมากเคยชินกับการใช้หน่วยการสอนกําหนดกิจกรรมต่างๆ
ให้แก่เด็ก การสอนแบบหน่วยมีส่วนคล้ายคลึงกับการสอนแบบโครงการ โดยทั่วไปแล้วการสอนแบบหน่วย
คือ การวางแผนกิจกรรมต่างๆ ตามหัวเรื่องที่ครูพิจารณาแล้วว่าสำคัญและเด็กควรรู้เป็นการกำหนดแผนการสอนล่วงหน้า
เช่น หน่วยแม่เหล็ก หน่วยนํ้า ฯลฯ ดังนั้น ครูที่ใช้หน่วยการสอนจึงมีการวางแผนการสอน
กำหนดแนวคิดและสาระความรู้ที่ต้องการให้เด็กทราบอย่างชัดเจน
ความแตกต่างระหว่างการสอนแบบหน่วยกับการสอนแบบโครงการ
มีดังนี้ (Helm and Katz,2001)
การสอนแบบหน่วย
|
การสอนแบบโครงการ
|
1. ระยะเวลาการเรียนรู้แบบหน่วยการสอนของเด็กจะสั้นประมาณ
1 – 2 อาทิตย์
2. หัวเรื่องของหน่วยการสอนเกิดจากหลักสูตรและครูเด็กอาจสนใจหรือไม่สนใจก็ได้
3. ครูมีการวางแผนล่วงหน้า นำเสนอหัวเรื่องออกแบบและเตรียมประสบการณ์การเรียนรู้
4. ครูกําหนดจุดประสงค์บนพื้นฐานของเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนด
อาจจัดให้มีหรือไม่มีประสบการณ์การสืบค้น
5. ความรู้ที่เด็กได้เกิดจากการวางแผนการจัดประสบการณ์ของครู
แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ถูกนำไปใช้ในห้องเรียนมีกิจกรรมกลุ่มย่อยกลุ่มใหญ่
6. แหล่งข้อมูลต่างๆ ถูกกําหนดโดยครูแต่เด็กอาจมีส่วนนำแหล่งข้อมูลนั้นๆมาได้ด้วย
7. การออกภาคสนามอาจมีหรือไม่มี ถ้ามีมักจะเกิดในเวลาใกล้สิ้นสุดหน่วยการสอน
8. ครูจะสอนหัวเรื่องต่างๆ ในช่วงเวลาที่กําหนดให้แต่ละวัน
และอาจสอดแทรกการบูรณาการเนื้อหาต่างๆ เข้าด้วยกัน
9. ครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรมต่างๆ (เช่น การประดิษฐ์ การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ฯลฯ) และให้เรียนเฉพาะแนวคิดที่กำหนด
10. การนำเสนอจะเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่กําหนดไว้โดยเฉพาะ
เช่น การวาดเพื่อแสดงการสังเกตในการทดลองวิทยาศาสตร์ การเขียนแผนที่ การเขียนภาพ
และจะไม่มีการนำเสนอซํ้า
|
1. ระยะเวลาของโครงการขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของโครงการ
ปกติใช้เวลาหลายสัปดาห์บางโครงการใช้เวลาเป็นเดือน
2. หัวเรื่องของโครงการเกิดจากการตกลงระหว่างเด็กกับครุ
พร้อมกับบูรณาการเป้าหมายของหลักสูตร เกณฑ์การเลือกหัวเรื่องขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็กมากที่สุด
3. ครูสังเกตการสืบค้นของเด็ก ใช้ความสนใจของเด็กเป็นเครื่องตัดสินการดำเนินโครงการ
4. ครูทำใยแมงมุม Web ประเมินความรู้เดิมของเด็กแล้วจึงตระเตรียมโครงการให้เด็กเรียนรู้สิ่งที่เด็กไม่ทราบ
โดยบูรณาการจุดประสงค์ของหลักสูตรเข้าไปด้วยขณะที่โครงการกำลังดำเนินอยู่ และต้องให้เด็กได้สืบค้นอย่างสมํ่าเสมอ
5. ความรู้ที่เด็กได้รับเกิดจากการสืบค้นหาคำตอบจากคำถาม
เด็กมีส่วนร่วมตัดสินใจทำกิจกรรมร่วม ในเหตุการณ์ต่างๆ
6. แหล่งข้อมูลต่างๆ ถูกนำมาโดยเด็ก ครูและผู้เชี่ยวชาญที่มาเยี่ยมเยียนห้องเรียนหรือจากการออกภาคสนาม
7. การออกภาคสนามเป็นกระบวนการที่สำคัญของการสอนแบบโครงการแต่ละโครงการเด็กอาจไปสืบค้นข้อมูลในที่ต่างๆกัน
และการออกภาคสนามจะปรากฏในช่วงต้นๆ ของการทำโครงการ
8. โครงการจะสอดแทรกในช่วงวันที่เด็กทำกิจกรรมตามปกติในชั้นเรียน
และเชื่อมโยงให้เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและทักษะต่างๆได้
9. กิจกรรมต่างๆ จะเน้นการสังเกตสืบค้นหาคำตอบจากคำถาม
การใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ ครูจะช่วยบูรณาการแนวคิดระหว่างการอภิปรายและการสรุป
10. การนำเสนอ (เช่น การวาดภาพ การเขียน
การสร้าง การก่อสร้าง ฯลฯ ) ท้าทายเด็กให้บูรณาการแนวคิดต่างๆ
เข้าด้วยกัน ข้อมูลที่นำเสนอคือสิ่งที่เด็กเรียนรู้ความเข้าใจทักษะที่เกิดขึ้น ซึ่งแสดงความก้าวหน้าของโครงการ
|
จากการเปรียบเทียบการสอนทั้งสองรูปแบบจะพบว่า การสอนแบบโครงการนั้นเด็กมีส่วนริเริ่ม ตัดสินใจ สืบค้น เรียนรู้ประสบการณ์ด้วยตนเองมากกว่าการสอนแบบหน่วยที่ครูเป็นผู้วางแผนให้
อย่างไรก็ตามเราจะพบว่ามีครูปฐมวัยที่นำลักษณะบางประการของกระบวนการทำโครงการ (เช่น การสร้าง การวาดจากการสังเกต และการจัดทำข้อมูลการเรียนรู้
ฯลฯ) ไปใช้ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอื่นๆ อาทิ การสอนแบบหน่วย
ซึ่งทำให้การสอนแบบหน่วยมีส่วนคล้ายกับการสอนแบบโครงการ
ประโยชน์ที่เด็กได้เรียนรู้จากการทำโครงการจะเห็นชัดเมื่อเด็กกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น สนใจจดจ่อในหัวเรื่องโครงการ
ครูปฐมวัยหลายคนอาจใช้หน่วยการสอนกำหนดกิจกรรม และขณะเดียวกันให้เด็กทำโครงการที่สนใจไปด้วย
เพราะการให้เด็กทำโครงการอย่างเดียวไม่สามารถทดแทนหลักสูตรทั้งหมดได้ สำหรับเด็กปฐมวัยถือเป็นเพียงส่วนที่เสริมเพิ่มเติมให้สมบูรณ์อย่างไม่เป็นทางการเท่านั้น
งานโครงการจะไม่แยกเป็นรายวิชา เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ฯลฯ แต่จะบูรณาการทุกวิชาเข้าด้วยกันโดยเฉพาะเด็กปฐมวัยต้องการครูเป็นผู้ชี้แนะ
และเป็นที่ปรึกษาในการทำโครงการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น