สัปดาห์ที่ 6



วันที่ 17 กรกฎาคม 2556

สื่อเข้ามุม :: กำแพงแสง


วัสดุ / อุปกรณ์
1           - ฟิวเจอร์บอร์ด
2           - เทปกาว 2 หน้า
3           - เทปกาวกระดาษ
4           - แผ่นใส
5           - กระดาษแข็ง
6           - ไฟฉาย

วิธีเล่น
ให้เด็กๆเลือกฉากที่เด็กๆต้องการใช้ไฟฉายส่อง ใส่เข้าไปในขาตั้งฉากกำแพงแสง
- ใช้ไฟฉายส่องฉากที่เลือกไว้
- สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น และความแตกต่างของแต่ละฉาก

หลักการทางวิทยาศาสตร์
            แสงทำให้เกิดความสว่าง และเมื่อมีวัตถุทึบแสงใด มาอยู่ระหว่างต้นกำเนินแสง กับพื้นผิวที่แสงตดกระทบ จำทำให้เกิดเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้นๆ ขึ้น และวัตถุก็สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ทึบแสง โปร่งแสง และโปร่งใส แสงจะส่องผ่านได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุนั้นๆ สามารถให้แสงทะลุผ่านได้มากน้อยแค่ไหน ขนาดของเงาที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของต้นกำเนิดแสง วัตถุที่บังแสง และพื้นผิวที่แสงตกกระทบว่า แต่ละอย่างอยู่ใกล้ - ไกล กันมากน้อยแค่ไหน รวมถึงอยู่ในมุมไหนอีกด้วย

ประโยชน์ที่จะได้รับ
- ทักษะการสังเกต ในการสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากใช้ไฟฉายส่องไปที่ฉาก หรือวัตถุ
- ทักษะการคาดคะเน คาดคะเนว่า ถ้าเด็กๆใช้ไฟฉายส่องไปที่ฉาก หรือวัตถุ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
- ทักษะการสรุป ลงความเห็น เมื่อเด็กๆสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงจากฉากหรือวัตถุหลายๆแบบแล้ว เด็กก็สรุปว่ามันต่างกันอย่างไร

สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ :: เป่า

วัสดุ / อุปกรณ์
1           - กระดาษแข็ง
2           -  กระดาษสี
3           - หน้าตัวการ์ตูน
             -  แผ่นสติ๊กเกอร์ใส
5           - กาว 2 หน้า
6           -  แม็กเย็นกระดาษ

วิธีเล่น
ให้เด็กๆเลือกสื่อเป่าตามรวดลายที่ชอบ
- เป่าลมใส่ทางด้านหัวของตัวการ์ตูน จะเป่าแรงหรือเบา แล้วแต่ต้องการ
- เด็กๆสามารถนำมาเล่นกับเพื่อนๆ แข็งกันเป่า ว่าใครเป่าได้ไกลกว่ากัน

หลักการทางวิทยาศาสตร์
            พลังงานลม เป็นพลังงานตามธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลมและกำลังลม เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าลมเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเอง ในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อหา เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น

ประโยชน์ที่จะได้รับ
ทักษะการสังเกต ในการเป่าแรงวัตถุจะเคลื่อนที่ไปไกล เป่าเบาๆวัตถุจะเคลื่อนที่ใกล้ๆหรืออาจจะไม่เคลื่อนที่เลย
- ทักษะการคาดคะเน คาดคะเนว่า ถ้าเด็กๆเป่าแรงวัตถุจะเคลื่อนที่ไปถึงจุดไหน
- ทักษะทางคณิตศาสตร์ การวัดระยะ ความยาว ระหว่างจุดเริ่มต้นของวัตถุ กับจุดที่หลังจากเป่าวัตถุแล้ววัตถุหยุดการเคลื่อนที่



การทดลอง :: ขวดน้ำพุ่ง
  



อุปกรณ์
1           - ขวดน้ำ ที่เจาะรูข้างๆ
2           - หลอด
3           - ดินน้ำมัน
             - ลูกโป่ง
5           - ถาดรองน้ำ
6           - น้ำเปล่า

วิธีสอน
1.     ถามเด็กๆว่า เด็กๆเห็นอะไรบนโต๊ะบ้างค่ะ
2.     เมื่อเด็กๆบอกว่ามีอะไรบ้างครบทุกชิ้น ใช้คำถามต่ออีกว่า เด็กๆคิดว่าอุปกร์ทั้งหมดนี้           สามารถนำมาทำอะไรได้บ้างค่ะ
3.       เมื่อเด็กๆแสดงความคิดเห็นแล้ว คุณครูก็จะเทน้ำใส่ในขวดที่เจาะรูและใส่หลอดเข้าไป         โดนขวดที่เตรียมไว้จะขีดเส้นข้างขวดว่าควรเติมน้ำให้ได้ระดับไหน
4.      ให้เด็กๆออกมาช่วยเทน้ำลงไปในขวด พร้อมบอกเด็กๆว่า เด็กๆช่วยสังเกตดีๆนะค่ะว่า       จะเกิดอะไรขึ้น
5.      หลังจากที่เติมน้ำเสร็จ คุณครูก็จะนำลูกโป่งออกมาเป่า แต่ก่อนที่จะเป่าก็ถามเด็กๆว่า ถ้า    คุณครูเป่าลมเข้าไปในลูกโป่ง เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ
6.       เมื่อเด็กๆตอบคำถามแล้ว จากนั้นคุณครูก็จะนำลูกโป่งที่เป่าลมแล้ว ไปปิดที่ฝาขวด แต่ก่อนที่จะปิดลงไปให้ถามเด็กๆว่า ถ้าคุณครูนำลูกโป่งที่เป่าลงแล้วไปปิดที่ฝาขวด เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ
7.      เมื่อเด็กๆตอบแล้ว คุณครูก็จะทำการทดลองให้เด็กดูพร้อมบอกเด็กๆด้วยว่า เด็กๆช่วยกันสังเกตนะค่ะว่าจะเกิดอะไรขึ้น
8.      คุณครูใช้คำถามกับเด็กระกว่างการทดลอง เด็กๆเห็นไหมค่ะลูกโป่งมีขนาดเป็นยังไงเมื่อนำไปปิดที่ฝาขวด” 
9.      ที่น้ำพุ่งออกมาจากหลอด เด็กๆคิดว่าเป็นเพราะอะไรค่ะ
10.    คุณครูและเด็กร่วมกันสรุป

หลักการและเหตุผล
            อากาศต้องการที่อยู่ เมื่อนำอากาศเข้าไปในขวดที่ใส่น้ำ พร้อมเจาะรูที่ขวดแล้วใส่หลอดเพื่อให้สามารถมาทางที่อากาศสามารถออกได้  อากาศที่เป่าใส่ในลูกโป่งจะดันน้ำให้พุ่งออกมาจากหลอดโดยความแรงของน้ำจะค่อยๆเบาลงตามระดับน้ำที่ลดลง

ประโยชน์
            เด็กได้ฝึกการสังเกตและตั้งสมมติฐานว่าการทดลองนั้นจะเกิดอะไรขึ้น และยังฝึกการรอคอย การมีสมาธิในสิ่งที่กำลังทำ นอกจากนี้ยังได้เข้าใจถึงเรื่องอากาศต้องการที่อยู่และแรงดันน้ำ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น