สัปดาห์ที่ 3


วันที่ 26 มิถุนายน 2556


- อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO เรื่อง "ความลับของแสง"




แสงคือ
       แสงคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ด้วย
       
การสะท้อนของแสง (Reflection)
      เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นค่าหนึ่งมายังตัวกลางที่มีค่าความหนาแน่นอีกตัวหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวเดิม เช่น การสะท้อนของแสงจากอากาศกับผิวหน้าของกระจกเงาจะเกิดการสะท้อนแสงที่ผิวหน้าของกระจกเงาราบแล้วกลับสู่อากาศดังเดิม เมื่อแสงตกกระทบกับผิวหน้าของตัวกลางใดๆ ปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสง จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของพื้นผิวหน้าของตัวกลางที่ตกกระทบ จากรูป เมื่อลำแสงขนานตกกระทบพื้นผิวหน้าวัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนเป็นลำแสงขนานเหมือนกับลำแสงที่ตกกระทบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ โดยเรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ

การสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบพื้นผิววัตถุที่เรียบ

เกิดขึ้นเมื่อลำแสงตกกระทบไปยังพื้นกระจกหรือพื้นผิวที่ขรุขระจะส่งผลให้แสงสะท้อนกลับไปคนละทิศละทาง

 

กฎการสะท้อนของแสง (The Laws of Reflection) มี 2 ข้อ ดังนี้
  • รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
  • มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ดังภาพ


ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ 
         ก็เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หยดน้ำฝนหรือละอองน้ำทำหน้าที่เป็นปริซึม แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมาจะเกิดการหักเหทำให้เกิดเป็นแถบสีบนท้องฟ้า
ภาพแสดงการเกิดสเปกตรัมสีรุ้งของแสงเมือลำแสงผ่านปริซึม
จากภาพแสงสีแดงจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงสีม่วง ทำให้แสงสีแดงเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่น้อยกว่าแสงสีม่วง เป็นสาเหตุทำให้เกิดการกระจายของแสงขาวเรียงกันเป็นแถบสีเกิดขึ้น

สีของแสง
       การมองเห็นสีต่าง ๆ บนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น แสงขาวอาจเกิดจากแสงเพียง 3 สีรวมกัน แสงทั้ง 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่า สีปฐมภูมิ และถ้านำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ซึ่งสีทุตยภูมิแต่ละสีจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง ดังภาพ

 
การหักเหของแสง (Refraction of Light)
       เมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางโปร่งใส เช่น อากาศ แก้ว น้ำ พลาสติกใส แสงจะสามารถเดินทางผ่านได้เกือบหมด เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง แสงจะหักเห




      

รุ้งกินน้ำ ( Rainbow) 
        เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มักเกิดตอนหลังฝนตกใหม่ ยิ่งเฉพาะมีแดดออกด้วย ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากแสงแดดจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมากระทบกับหยดน้ำฝนหรือละอองน้ำ แล้วจะเกิดการหักเหและการสะท้อนกลับหมดของแสงทำให้เกิดเป็นแถบสีบนท้องฟ้า โดยการหักเหของแสงในหยดน้ำนั้นจะแยกสเปกตรัมของแสงขาวจากแสงแดดออกเป็นแถบสีต่างๆ ดังภาพ




 การมองเห็นวัตถุ
     การมองเห็นวัตถุ เกิดจากการที่แสงไปตกกระทบสิ่งต่างๆ แล้วเกิดการสะท้อนเข้าสู่ตาเรา และผ่านเข้ามาในลูกตา ไปทำให้เกิดภาพบนจอ (Retina) ที่อยู่ด้านหลังของลูก ข้อมูลของวัตถุที่มองเห็นจะส่งขึ้นไปสู่สมองตามเส้นประสาท (optic nerve) สมองจะแปลข้อมูลเป็นภาพของวัตถุนั้น

สัปดาห์ที่ 2


วันที่ 19 มิถุนายน 2556

           อาจารย์แจกใบความรู้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 6 คน หลังจากนั้นอาจารย์จะจัดหัวข้อให้แต่ละกลุ่ม โดยดิฉันหัวข้อที่ 3
                 1.) ความหมายของวิทยาศาสตร์
                 2.) ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
                 3.) พัฒนาการทางสติปัญญา  <<หัวข้อที่ได้รับ 
                 4.) การเรียนรู้
                 5.) แนวความคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                 6.) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

         -  ให้นักศึกษาทุกกลุ่มร่วมกันปรึกษาหารือกันภายในกลุ่ม  ในหัวข้อของตนเองและให้ร่วมกันสรุป หลังจากที่ได้ข้อสรุปในกลุ่มของตนเองแล้ว ให้ส่งตัวแทนกลุ่มแต่ละกลุ่มไปนำข้อสรุปในหัวข้อเราจากกลุ่มอื่นด้วย หลังจากนั้น ให้นำข้อสรุปที่ได้ทั้งหมด นำมาเปลี่ยนเทียบความเหมือนความต่าง ว่าในแต่ละกลุ่มมีความเห็นที่ตรงกันหรือแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด แล้วให้ออกมานำเสนอในรูปแบบใดก็ได้ ที่เราคิดว่าเหมาะสมที่สุด


 

                                            ดิฉันเป็นตัวแทนของกลุ่มที่ 3                                                                             ออกไปนำเสนอ เรื่อง พัฒนาการทางสติปัญญา


สัปดาห์ที่ 1


วันที่ 12 มิถุนายน 2556



1.) อาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับรายวิชา ข้อปฏิบัติตามแนวการสอนและการจัดประสบการณ์ 
2.)  อาจารย์และนักศึกษาร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางในการปฏิบัติตามแนวการสอนตลอดจนข้อสงสัยต่างๆ 
3.) อาจารย์ได้อธิบายวิธีการสร้างบล็อกเพื่อเป็นแฟ้มสะสมงานอิเลคทรอนิคส์เพื่อ เป็นการประเมินในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งการสร้างบล็อกมีองค์ประกอบดังนี้
         3.1)  ชื่อและคำอธิบายบล็อก
         3.2) รูปและข้อมูลผู้เรียน
         3.3)  ปฏิทินและนาฬิกา
         3.4) เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอนหน่วยงานสนับสนุน,แนวการสอนงานวิจัยด้านวิทยาสตร์บทความสื่อ(เพลง,เกม,นิทาน,แบบฝึกหัด,ของเล่น)
4.) แนวการเขียนอนุทินเพื่อบันทึกหลังเรียน